เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา บจก.ทเวนตี้โฟร์ ช้อปปิ้ง ในกลุ่มซีพีออลล์เดินหน้าสนับสนุนโครงการดีดีอย่างต่อเนื่องกับผู้ประกอบการรายย่อยหรือ SME โดย คุณสวรรยา พิพัฒน์ไพศาล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ นำทีมเข้าร่วมงานเจรจาธุรกิจสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) จ. สุโขทัย ซึ่งมีสินค้าที่ขึ้นทะเบียนแล้ว 1 กลุ่มได้แก่ ถ้วยชามงานปั้นสังคโลก และกำลังดำเนินการ 5 กลุ่มได้แก่ มะยงชิดแม่ย่า ส้มแม่สิน ละมุดสุโขทัย ใบตองกล้วยตานี ผ้าตีนจกหาดเสี้ยว จัดโดยสำนักงานพาณิชย์จังหวัดสุโขทัยร่วมกับคณะนวัตกรรมการจัดการเกษตรสถาบัน PIM และสมาคมชิงไห่ โดย คุณไพบูลย์ ณะบุตรจอม รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย เป็นประธานในงาน วัตถุประสงค์เพื่อช่วยส่งเสริมให้ SME มีช่องทางการขายเพิ่มขึ้นทั้งออฟไลน์ ออนไลน์ และสามารถต่อยอดไปประเทศจีน โดยการช่วยเหลือของสมาคมชิงไห่ นับเป็นโครงการที่ช่วยเพิ่มศักยภาพและการตลาดเชิงรุก อันจะนำไปสู่การยกระดับมูลค่าของสินค้าส่งผลให้ผู้ประกอบการและชุมชนเกิดความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น
สินค้าที่ใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์มักจะเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยม เนื่องจากมีคุณสมบัติพิเศษหรือมีลักษณะเฉพาะที่เกิดจากอิทธิพลสิ่งแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ เช่น สภาพแวดล้อม ดิน ฟ้า อากาศ ของแหล่งภูมิศาสตร์นั้นๆ ตลอดจนทักษะความชำนาญและภูมิปัญญาของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในแหล่งภูมิศาสตร์นั้นๆ ประกอบด้วย
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์มีความแตกต่างจากทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอื่น กล่าวคือ ผู้เป็นเจ้าของไม่ใช่บุคคลหนึ่งบุคคลใดแต่เป็นกลุ่มชุมชนที่เป็นผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์นั้นๆ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ผลิตที่อาศัยอยู่ในสถานที่หรือแหล่งภูมิศาสตร์ และผู้ประกอบการเกี่ยวกับสินค้าที่ใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์นั้นเท่านั้น ที่มีสิทธิผลิตสินค้าดังกล่าวโดยใช้ชื่อทางภูมิศาสตร์นั้นได้ ผู้ผลิตคนอื่นที่อยู่นอกแหล่งภูมิศาสตร์จะไม่สามารถผลิต สินค้าโดยใช้ชื่อแหล่งภูมิศาสตร์เดียวกันมาแข่งขันได้ สิทธิในลักษณะดังกล่าวนี้นักวิชาการบางท่านเรียกว่า “สิทธิชุมชน” ซึ่งไม่สามารถนำสิทธิที่ได้รับไปอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้ต่อได้ ผู้ที่อยู่ในพื้นที่แหล่งภูมิศาสตร์เท่านั้นที่มีสิทธิใช้