ซีพีเอฟมุ่งบริหารน้ำเกิดประโยชน์สูงสุดเกิดประโยชน์และคุ้มค่ามากที่สุดตลอดกระบวนตลอดห่วงโซ่การผลิต ตามแนวทาง Eco-Efficiency

คุณประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า บริษัท ตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรน้ำซึ่งเป็นหัวใจหลักในการผลิตของภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม มีการบริหารจัดการน้ำด้วยความรอบคอบให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่ามากที่สุดตลอดกระบวนตลอดห่วงโซ่การผลิต ตามแนวทาง Eco-Efficiency ซึ่งเป็นการสร้างสมดุลระหว่างการเติบโตของธุรกิจและการรักษาระบบนิเวศโดยการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆกัน สู่เป้าหมายการลดปริมาณการใช้น้ำจากธรรมชาติ

ซีพีเอฟมีเป้าหมายลดปริมาณการดึงน้ำมาใช้ต่อหน่วยการผลิต 25% ในปี 2563 และ 30% ในปี 2568 ตามลำดับและมีการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน 3 แนวทาง คือ

1.การประเมินความเสี่ยงการขาดแคลนน้ำเป็นประจำทุกปี ตามหลักการของ Aqueduct ซึ่งเป็นหน่วยงานประเมินความเสี่ยงสากลด้านน้ำ

2.การนำน้ำกลับมาใช้ใหม่

และ 3.การกระจายน้ำที่บำบัดแล้วจากฟาร์มปศุสัตว์และโรงงานแปรรูปอาหาร ให้กับชุมชนและเกษตรกรรอบโรงงานเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำ

ทั้งนี้ ข้อมูลจากการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงด้านน้ำของบริษัทและคู่ค้าธุรกิจ จะช่วยลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับชุมชนโดยรอบในสภาวะแล้ง ขณะที่การนำน้ำที่บำบัดแล้วกลับมาใช้ใหม่จะช่วยให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า โดยในปี 2561 บริษัทมีน้ำที่ผ่านการบำบัดและนำกลับมาใช้ใหม่จำนวน 28 ล้านลูกบาศก์เมตรคิดเป็น 18% ของปริมาณการดึงน้ำมาใช้ทั้งหมด ทั้งยังส่งผลให้การดึงน้ำมาใช้ต่อหน่วยการผลิตของบริษัทลดลง 32% เมื่อเทียบกับปีฐาน 2558

บริษัทได้ย้ำให้ทุกธุรกิจของบริษัททั่วประเทศปฏิบัติตามมาตรการจัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดและดูแลการปล่อยน้ำที่บำบัดแล้วไปช่วยเหลือชุมชนรอบฟาร์มและโรงงาน

Cr:Pr CPF