การนอนที่ดีคือการนอนในระยะเวลาที่สม่ำเสมอ ไม่ใช่การนอนเป็นเวลานานๆ
งานวิจัยจากวารสารด้านวิทยาศาสตร์ “Sleep” เผยแพร่งานศึกษาชิ้นล่าสุด พบว่า การนอนเป็นเวลายาวนาน 8 ชั่วโมง เป็นเรื่องที่ยอดเยี่ยม แต่อาจไม่ได้หมายความว่าสุขภาพจะดีขึ้นจากการนอนเป็นระยะเวลายาวนาน
เรื่องนี้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Harvard และมหาวิทยาลัย Melbourne ออสเตรเลีย ได้ศึกษาพฤติกรรมการนอนของผู้คนจำนวน 60,000 ราย และสำรวจความเชื่อมโยงระหว่างการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรกับรูปแบบการนอน
จากงานศึกษาพบว่า ผู้เข้าร่วมการทดลองที่มีการนอนหลับและการตื่นนอนในเวลาที่สม่ำเสมอ การนอนในเวลาที่สม่ำเสมอ เช่น การนอนในเวลาสี่ทุ่ม ตื่น 7 โมงเช้าทุกวัน หรือนอนห้าทุ่ม ตื่น 8 โมงเช้าทุกวัน ไม่ใช่นอนเที่ยงคืนบ้าง นอนตีสองบ้างและตื่นในเวลาที่ไม่เหมือนเดิม
ผู้ที่นอนในเวลาที่สม่ำเสมอจะมีความเสี่ยงจากการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งและโรคที่เกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดลดลง 40% แน่นอนว่า ระยะเวลาการนอนก็ยังมีความสำคัญที่ส่งผลให้สุขภาพดีและอายุยืน แต่ถ้านอนได้ในระยะเวลาที่สม่ำเสมอในระดับที่เหมาะสมก็จะส่งผลให้สุขภาพดีกว่าผู้ที่ทำตรงกันข้าม
คำแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนารูปแบบการนอนให้มีความสม่ำเสมอมากขึ้น
1) พยายามกำหนดเวลาให้ตื่นนอนและเข้านอนเป็นเวลาเดิม เพื่อช่วยกำหนดนาฬิกาชีวภาพให้กับร่างกายจนสามารถง่วงในเวลาเดิมได้ทุกๆ วัน
2) ให้เวลาตัวเองเพื่อผ่อนคลาย เรื่องนี้ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า อาจจะต้องทำสมาธิ หรืออาบน้ำอุ่น อ่านหนังสือ หรือฟังเพลงที่ช่วยทำให้สงบและผ่อนคลายก่อนนอน
3) ดูแลพื้นที่สำหรับการนอนของตัวเอง ช่วงเวลาที่ทำให้ตัวเองผ่อนคลายจะเกิดขึ้นในช่วงก่อนจะนอน สถานที่ต้องเย็น มืด เงียบสงบและรู้สึกสบาย
4) พยายามหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่รบกวนร่างกายก่อนนอน เช่น ดื่มแอลกอฮอลล์ ทานอาหารมื้อดึก ดื่มคาเฟอีน และหลีกเลี่ยงการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก่อนนอนทุกชนิด
5) ออกกำลังกายทุกวัน งานศึกษาหลายชิ้นพบว่า การออกกำลังกายแบบแอโรบิค หรือการออกกำลังกายที่ต้องใช้อากาศหรือออกซิเจนเป็นตัวช่วย เป็นการเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ เช่น การเดิน การปั่นจักรยาน การว่ายน้ำ เหล่านี้ล้วนลดความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และคลอเลสเตอรอลสูง และการออกกำลังกายแบบนี้เป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้การนอนมีคุณภาพมากขึ้น
ที่มา – USA Today, Oxford Academic, Cleveland Clinic , Brand Inside