พลิกผืนป่าสบขุ่น สู่แบรนด์กาแฟ “Reforested Coffee” โมเดลชุมชนต้นแบบความยั่งยืน จ.น่าน

เชื่อหรือไม่จากพื้นที่ภูเขาหัวโล้นนับหมื่นไร่ ของกลุ่มเกษตรกรบ้านสบขุ่น ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน กลับมาอุดมสมบรูณ์จนสามารถปลูกกาแฟเพื่อทำการเกษตรได้ แต่กว่าทุกอย่างจะประสบความสำเร็จนั้น ต้องใช้พลังแรงกายแรงใจความรักความสามัคคีของคนในชุมชน รวมพลิกพื้นผืนป่าสร้างการกลับมาของพื้นที่ทำกิน ให้อุดมสมบูรณ์อีกครั้ง ซึ่งกลายเป็นที่มาของกาแฟ สร้างป่าบ้านสบข่น

โดยความสำเร็จและความภูมิใจของชาวบ้านนั้นถูกนำมาต่อยอดให้กลายเป็นกาแฟสร้างแบร์นดชื่อว่า Reforested Coffee Baan Sobkhun ที่ตั้งอยู่ สำนักงานด้านความยั่งยืน และพัฒนาชุมชนเครือเจริญโภคภัณฑ์ จังหวัดน่าน ที่บริเวณ 4 แยกวัดศรีพันธ์ต้น หรือร้านป้านิ่มเก่า ที่พร้อมเสิร์ฟความกลมกล่อมให้กับคอกาแฟได้กลิ้มลองรสชาติแห่งความเข้มข้น

คุณกิตินันท์ อินทำ เจ้าหน้าที่หน่วยงานด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐ สำนักบริหารความยั่งยืน ธรรมาภิบาล และสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เผยว่า หากย้อนเวลากลับไปเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ก้าวเข้ามาพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวร่วมกับภาคีเครือข่าย และชาวบ้าน กว่าชาวบ้านทุกคนจะมาถึงวันนี้ได้ ต้องใช้ความอดทนและเพียรพยายาม ลองผิดลองถูกอาศัยการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เปรียบได้เหมือนกระดาษเปล่าที่ยังไม่มีการขีดเขียน ที่คอยขยันหมั่นเดิมเต็มความรู้ให้กัน ที่ละเล็กละน้อยจนกว่ากระดาษแผ่นนั้นสมบูรณ์แบบ ทำให้สบขุ่นกลายเป็นโมเดลชุมชนที่เข้มแข็งได้ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากจุดเริ่มต้นที่ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่สิ่งเหล่านี้ต้องเริ่มมาจากความเข้าใจ รู้เขารู้เรา ช่วยเติมในสิ่งที่ขาด สร้างความเชื่อใจไว้ใจ พร้อมสร้างแรงบันดาลใจและความเชื่อมั่นให้กับคนในชุมชน

ถือเป็นโจทย์ที่มีความยากและมีความท้าทาย ที่ต้องทำอย่างไรเพื่อให้กลายเป็นผู้ให้อย่างนอบน้อมกับชุมชน ตลอดระยะเวลาในช่วงแรก อาจยังไม่เกิดผลสำเร็จ เมื่อเวลาผ่านไปสิ่งที่ได้กลับมามันคือ ความรักรอยยิ้มเสียงหัวเราะ ความรู้และความเข้าใจที่พวกเราสามารถที่จะโยงใยเป็นหนึ่งเดียวได้สำเร็จ นั่นคือความภูมิใจที่สุดของนักพัฒนาการเรียนรู้ที่เริ่มพัฒนาองค์ความรู้เรื่องผืนป่าและที่ดินทำกิน ความตระหนักที่หวงแหนเพื่อไว้สืบทอดสู่คนรุ่นหลังกลายเป็นความสำเร็จของความร่วมใจของชาวสบขุ่นทุกคน จากความร่วมมือเพียงกลุ่มเล็กๆที่ขับเคลื่อนให้เป็นชุมชนต้นแบบแห่งความยั่งยืน

ปัจจุบันพื้นที่สบขุ่นโมเดล ปลูกกาแฟ 614 ไร่ ส่งผลให้เกิดการฟื้นฟูป่าได้ถึง 1,822 ไร่ เปลี่ยนจากดอยหัวโล้นให้กลายเป็นพื้นที่สีเขียว 42.91% โดยเกษตรกรรุ่นที่ 1-5 มีการปลูกกาแฟจำนวน ทั้งหมด 112,719 ต้น เห็นได้ว่าการปลูกกาแฟมากขึ้น ทำให้การเผาป่าทางการเกษตรลดลง เนื่องจากบริเวณพื้นที่ปลูกกาแฟนั้นไม่จำเป็นต้องมีการเผา ซึ่งจะทำให้ผลผลิตทั้งหมดไม่เกิดความเสียหาย และเกษตรกรยังให้ความสำคัญกับด้านการเปลี่ยนแปลงทางรายได้ที่มีผลตอบแทนสูงกว่าการปลูกข้าวโพด หากปลูกกาแฟและพืชชนิดอื่นๆ เพิ่มยิ่งจะเป็นการเสริมสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้อีกช่องทาง และยังสามารถลดสารเคมีทางการเกษตร ทำให้คนภายในชุมชน มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงนับว่าเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญ ที่เกิดเป็นประโยชน์ให้กับชุมชน สังคมและประเทศชาติ ได้เห็นเป็นแบบอย่าง ของกลุ่มเกษตรกรต้นแบบกับ “สบขุ่นโมเดล”

Cr:Pr CPG