โรงเรียนสาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ หรือ สาธิตพีไอเอ็ม พร้อมเดินหน้าพัฒนาเยาวชนเปิดหลักสูตรมัธยมปลาย เน้นการสร้างทักษะเสริมศักยภาพนักเรียนตามความถนัดรายบุคคล บูรณาการทักษะการบริหารจัดการ ทักษะกระบวนการคิด และทักษะการใช้ภาษาไทย อังกฤษ จีน พร้อมนำสื่อเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ประกอบการเรียนการสอน ด้วยแผนการเรียนตามสายอาชีพ ที่เน้นเสริมศักยภาพผู้เรียนตามความถนัดอย่างแท้จริง ด้วยกระบวนการช่วยให้นักเรียนเรียนอย่างมีเป้าหมาย และเห็นภาพที่ชัดเจน ของคณะวิชา-สาขาวิชาที่ต้องการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนมีประสบการณ์กับสายอาชีพ ขยายความรู้สู่งานสู่ชีวิตที่ตั้งเป้าหมายไว้ โดยหลักสูตรของโรงเรียนสาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ครอบคลุมมาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ภายใต้การดูแลของสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) ซึ่งมี 4 องค์ประกอบสำคัญ ดังนี้
1. การเลือกแผนการเรียนตามความสนใจ ซึ่งแต่ละแผนประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้
1.1 ทุกแผนการเรียนในรายวิชาพื้นฐาน 3 วิชาหลัก Math, Science, English จะเรียนเป็นภาษาอังกฤษ กับครูชาวต่างชาติ และยังคงไม่ทิ้งรายวิชาภาษาจีน ที่ถือเป็นภาษาที่ 3 สำหรับนักเรียนสาธิตฯ รวมทั้งเพิ่มการเรียนที่จะนำไปสู่เป้าหมายด้วยวิชาเสริมเติมเต็มศักยภาพ IELTS และ SAT เพื่อสร้างฐานความรู้ที่เข้มข้น ให้กับนักเรียนที่จะนำไปสู่เป้าหมายการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยทั้งใน และต่างประเทศ รวมถึงการทำงานในอนาคต อีกทั้งนักเรียนยังสามารถขยายความรู้ที่นอกเหนือกว่าแหล่งความรู้ที่เป็นภาษาไทย ได้โดยการค้นคว้าเพิ่มเติม เป็นภาษาอังกฤษ หรือ ภาษาจีน ทำให้เท่าทันวิทยาการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นใหม่อยู่เสมอ แหล่งข้อมูลจึงกว้างมากขึ้นและอัปเดตอยู่ตลอดเวลา
• แผนการเรียนหลักและรายวิชาเพิ่มเติม 3 แผนการเรียน เน้นเสริมศักยภาพผู้เรียนตามความถนัด
– แผนการเรียน Math – Science
– แผนการเรียน Math – English
– แผนการเรียน Language Arts
ดร.สุภาวดี วงษ์สกุล ที่ปรึกษา โรงเรียนสาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และ ผู้อำนวยการหลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต พีไอเอ็ม กล่าวถึงการเรียนวิชาพื้นฐานเป็นภาษาอังกฤษ “ถ้าอยากเก่งภาษาไหน จะต้องเรียนวิชาการเป็นภาษานั้น เช่น ถ้าอยากเก่งภาษาอังกฤษ ก็จะต้องเรียนวิทย์ คณิต เป็นภาษาอังกฤษด้วย เพราะถ้าคุณเรียนภาษาอังกฤษเพื่อการสนทนาทั่วไป คุณก็จะเหมือนกับหลายๆ คนที่พูดภาษาอังกฤษได้ แต่จะไม่ได้ศัพท์ทางวิชาการเท่ากับคนที่เรียนวิชาการเป็นภาษานั้นๆ เหล่านี้คือความสำคัญ เป็นฐานความรู้หลักที่จะติดตัวไป ไม่ว่าจะเรียนในสายใดต่อไปจะต้องใช้”
2. Pre – University วิชาเสริมเตรียมความพร้อมสู่มหาวิทยาลัยและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนตามความถนัด
โดยผู้ชำนาญเฉพาะทางตามสายอาชีพ และยังเสริมเนื้อหาที่จะต้องใช้ในการสอบวิชาความถนัดทั่วไป GAT, PAT ตัวอย่าง วิชาเสริม Pre – University ในแต่ละแผนการเรียน
Pre – University แผนการเรียน Math – Science นักเรียนที่สนใจ Health Science (วิทยาศาสตร์สุขภาพ) หลักสูตรจะสอดแทรกความรู้ทางฟิสิกส์ ด้านเครื่องมือแพทย์ MRI, X-RAY, Ultrasound และยังเสริมเนื้อหาที่จะต้องใช้สอบ กสพท. และ BMAT
นักเรียนที่สนใจ Engineer & Architecture (วิศวะและสถาปัตย์) จะสอดแทรกความรู้ด้าน Engineering Drawing (การเขียนแบบ)
นักเรียนที่สนใจ Robotics and AI จะสอดแทรกความรู้ด้าน Electronic, Mechanic, Programming, AI และการสร้างสิ่งประดิษฐ์
Pre – University แผนการเรียน Math – English
นักเรียนที่สนใจ Business, Finance และ Law จะสอดแทรกความรู้ด้านการเงินการลงทุน, Introduction to Marketing, Pitching and Proposal Development (การนำเสนอแผนธุรกิจเพื่อหาเงินทุน)
Pre – University แผนการเรียน Language Arts
นักเรียนที่สนใจ English – English จะเพิ่มความรู้ภาษาอังกฤษในระดับ Advanced English ทั้งทักษะการฟังพูด อ่าน เขียน และเสริมเข้มข้นมากยิ่งขึ้นในการทดสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษระดับสากล IELTS
นักเรียนที่สนใจ English – Chinese จะเพิ่มความรู้ภาษาจีนในระดับ Advanced Chinese ทั้งทักษะการฟังพูด อ่าน เขียน, อารยธรรมจีน และการสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีน HSK
นักเรียนที่สนใจ English – Multimedia จะเพิ่มความรู้ด้านการสื่อสารด้วยภาพ, การออกแบบสื่อกราฟิก, การผลิตสื่อมัลติมีเดีย
อาจารย์ทองดี แย้มสรวล ที่ปรึกษา โรงเรียนสาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และครูแห่งชาติ วิชาฟิสิกส์ ระดับมัธยมศึกษา กล่าวถึง Pre – University ว่า “วิชาเสริม Pre – University หรือที่เรียกสั้นๆว่า Pre-Uni มีความสำคัญมาก นักเรียนหลายๆ คนจะต้องไปหาที่เรียน เพื่อเสริมความพร้อมสู่มหาวิทยาลัย ตามสถาบันกวดวิชาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น GAT, PAT หรือ เสริมความถนัดเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัย แต่โรงเรียนสาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์จัดให้มีวิชาเสริมเตรียมความพร้อมสู่มหาวิทยาลัยให้กับนักเรียนทุกคนและยังพัฒนาตามความถนัด โดยผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพอีกด้วย Pre – University จึงเป็นสายตรง เหมือนวิ่งตรงไปสู่ความสนใจ วิ่งตรงสู่ความถนัด ทั้งยังตอบโจทย์ผู้เรียน โดยจัดกลุ่มผู้เรียนตามความสนใจ เมื่อคนที่สนใจในสิ่งเดียวกันอยู่ร่วมกัน ก็จะทำให้เรียนรู้ได้เร็วขึ้น นักเรียนมีเป้าหมายว่าต้องการเรียนอะไร ฉะนั้นเมื่อเป้าหมายชัดเจนแล้ววิชาเสริม Pre – Uni จึงมีความสำคัญอย่างมากกับนักเรียน ม.ปลายทุกคน”
3. Happiness Classroom ความสุขที่ได้เรียน โรงเรียนสาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
Happiness Classroom ห้องเรียนแห่งความสุข ที่เป็นการออกแบบการเรียนรู้แบบ Active learning ที่ให้เด็กทุกคนเป็น Child center โดยมีกิจกรรมระหว่างเรียนให้ปฏิบัติตลอดทั้งคาบเรียน ได้ลุกออกจากที่นั่ง ได้ออกจากห้องเรียนแบบเดิมๆ การนำเทคโนโลยีต่างๆมาใช้ในการเรียนสอนช่วยให้เด็กๆเกิดความมีส่วนร่วม อาทิ iPad, Apple TV, โปรแกรมทางการศึกษาต่างๆ เมื่อห้องเรียนไม่ได้เป็นห้องเรียนในแบบที่คุ้นเคย จึงเกิดการเรียนรู้ สร้างความสนใจ สร้างผลงานหรือนวัตกรรมที่เกิดจากประสบการณ์การเรียนรู้อย่างเป็นระบบ (Project-Based Learning)
ห้องเรียนที่มีประสิทธิภาพ การออกแบบการเรียนรู้แบบ Active Learning นักเรียนยิ่งให้ความสนใจ สนุกกับการเรียน สร้างประสบการณ์ร่วมกับเนื้อหาที่เรียน อีกทั้งยังปรับรูปแบบการเรียนให้ทันสมัย พร้อมทั้งตรวจสอบมาตรฐาน พัฒนากิจกรรมในห้องเรียนอยู่ตลอดเวลา ในทุกชั้นปีการศึกษา และที่สำคัญในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีเนื้อหาที่อัดแน่นเข้มข้น ยิ่งต้องจัดกิจกรรมระหว่างเรียน ให้สอดคล้องกับเนื้อหา สร้างความสนุก และความสุข ให้ห้องเป็น Happiness Classroom ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดตามสไตล์การสอนแบบฟินแลนด์ และอยากที่จะมาโรงเรียนในทุกวัน
4. ค่ายสู่ความเป็นเลิศ รู้จริง เห็นจริง จากผู้เชี่ยวชาญทางสายอาชีพ
ทัศนศึกษาแบบเดิมๆ อาจไม่เพียงพอต่อเป้าหมายของนักเรียน โรงเรียนสาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ จึงก่อเกิด ค่ายสู่ความเป็นเลิศ โดยในระดับมัธยมต้น นักเรียนจะร่วมกิจกรรม ค่ายสู่ความเป็นเลิศ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ค้นหาความถนัด เตรียมตัวตั้งเป้าหมายสู่แผนการเรียน มัธยมปลาย
ในขณะที่ระดับมัธยมปลาย ความสำคัญของค่ายสู่ความเป็นเลิศจะเน้นสร้างประสบการณ์ให้ตรงต่อความถนัด และความสนใจของนักเรียน ศึกษาดูงานจากผู้เชี่ยวชาญทางสายอาชีพ ในสถานที่ทำงานจริง ฉะนั้นค่ายสู่ความเป็นเลิศที่โรงเรียนสาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ จัดขึ้นจึงเป็นการตอกย้ำ ความถนัด ความสนใจ และสร้างความมุ่งมั่นให้กับนักเรียน เพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเอง ให้ไปถึงเป้าหมาย พร้อมทั้งสามารถนำความรู้จากประสบการณ์ในค่ายสู่ความเป็นเลิศมาปรับใช้ในอนาคตได้อย่างสมบูรณ์แบบ
อาจารย์จิรัฏฐ์ แจ่มสว่าง ที่ปรึกษาโรงเรียนสาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ประเทศไทย ปี 2560 กล่าวถึงค่ายสู่ความเป็นเลิศ ว่า “การจัด ค่ายสู่ความเป็นเลิศ แตกต่างตรงที่ การไปศึกษาดูงานของโรงเรียนสาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ เช่น โรงเรียนพานักเรียนทั้งระดับชั้นไปศึกษาดูงานในที่เดียวกัน แต่เราก็จะจัดกลุ่มนักเรียนตามความสนใจอาจจะแบ่งเป็น 10 กลุ่มเลยก็ได้ ถ้านักเรียนมีความสนใจที่ต่างกัน ฉะนั้นนักเรียนที่สนใจสุขภาพจะได้ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญในสายอาชีพโดยตรง นักเรียนที่สนใจด้านวิศวะจะศึกษาดูงานในส่วนของการผลิต ก็จะตรงต่อความอยากรู้ อยากเห็น ได้เห็นการทำงานจริง และค่ายสู่ความเป็นเลิศ ก็ยังสร้างแรงบันดาลใจ ให้กับนักเรียนเป็นอย่างมาก”
คำพูดที่ว่า “ทำไมต้องเรียนวิชา…นี้ เรียนไปก็ไม่ได้ใช้” ใช้ไม่ได้กับ โรงเรียนสาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ เพราะโรงเรียนนี้ เป็นโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 อย่างแท้จริง เป็นโมเดลที่จะช่วยแก้ปัญหาการศึกษาในประเทศไทย ออกจากการเรียนเพื่อนำความรู้ไปสอบ ในวิชาเรียน หรือในการศึกษาต่อมหาวิทยาลัยเพียงเท่านั้น แต่หลักสูตรนี้ออกแบบมาเพื่อให้นักเรียนสามารถนำความรู้ที่เกิดจากการลงมือทำกิจกรรมในห้องเรียน และนอกห้องเรียน มาปรับประยุกต์ใช้ได้จริงกับทุกรายวิชาที่เรียน สามารถนำความรู้ 8 กลุ่มสาระ มาปูพื้นฐานให้แน่น พร้อมนำมาปรับใช้กับอนาคตของแต่ละบุคคลได้ โดยผู้สอนก็สอนอย่างมีเป้าหมาย ผู้เรียนก็รู้วิธีนำความรู้ที่ได้จากวิชาต่างๆ มาปรับใช้ โรงเรียนสาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ จึงเป็นโรงเรียนที่ทำให้เกิดทักษะ เกิดความเข้าใจ เมื่อนักเรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนแล้ว ก็สามารถนำไปสืบค้นเพิ่มนอกห้องเรียนต่อได้ ช่วยเพิ่มศักยภาพให้นักเรียนขึ้นไปเรื่อยๆ เป็นโรงเรียนที่จะแก้ปัญหานักเรียนที่เรียนแล้วไม่รู้วิธีการนำวิชาเรียนมาปรับใช้ ที่เป็นปัญหาในการศึกษาของประเทศเราให้ดีขึ้นได้อย่างแน่นอน