Photo by Quan Nguyen on Unsplash
ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีระบุว่า ได้มีการเพิ่มบริการแก่ผู้ประกันตนหญิง มาตรา 33 และมาตรา 39 กับสถานพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการตรวจสุขภาพกับสำนักงานประกันสังคม ดังนี้
1) ตรวจเต้านม โดยแพทย์หรือบุคลากรสาธารณสุข
อายุตั้งแต่ 30-39 ปี ตรวจทุก 3 ปี
อายุตั้งแต่ 40-54 ปี ตรวจได้ทุกปี
อายุ 55 ปีขึ้นไป ตรวจตามความเหมาะสมหรือมีความเสี่ยง
2) ตรวจมะเร็งปากมดลูก Pap Smear
อายุตั้งแต่ 30-54 ปี ตรวจทุก 3 ปี
อายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ตรวจตามความเหมาะสมหรือมีความเสี่ยง
3) ตรวจมะเร็งปากมดลูก VIA
อายุตั้งแต่ 30-54 ปี ตรวจทุก 5 ปี
อายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป แนะนำให้ตรวจ Pap Smear
สำหรับผู้ประกันตนที่ตรวจพบว่าเป็นโรคมะเร็ง สามารถเข้ารับการรักษาโรคมะเร็งได้โดยจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น โดยสถานพยาบาลที่เลือกไว้จะให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตนจนสิ้นสุดการรักษา โดยไม่จำกัดวงเงินค่าใช้จ่ายและจำนวนครั้งในการรักษาและจะไม่เรียกเก็บเงินจากผู้ประกันตน
ยกเว้นมีค่าใช้จ่ายในการบริการด้านอื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือสิทธิประกันสังคม เช่น การใช้ยาที่อยู่นอกบัญชียาหลัก ที่จะทำให้สิทธิการรักษามะเร็งขั้นพื้นฐานไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายยาในส่วนนี้ หาต้องการข้อมูลติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.sso.go.th หรือ โทรสายด่วนได้ที่ 1506
ผู้ประกันตน ม.33*
คือเหล่ามนุษย์เงินเดือนที่ทำงานในบริษัทเอกชนทั่วไป หรือพนักงานประจำที่มีนายจ้าง อายุ 15-60 ปีบริบูรณ์ นายจ้างจะเป็นผู้แจ้งขึ้นทะเบียนต่อสำนักงานประกันสังคมให้ลูกจ้าง ความคุ้มครองที่ผู้ประกันตนตาม ม.33 จะได้รับ ดังนี้ ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต สงเคราะห์บุตร ชราภาพ ว่างงาน (สำนักงานประกันสังคมกำหนดให้จ่ายเงินเข้าประกันสังคม โดยคำนวณจาก 5% ของเงินเดือน คำนวณจากฐานเงินเดือนสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 750 บาท/เดือน นายจ้างและรัฐบาลจะร่วมจ่ายเงินสมทบในแต่ละเดือนด้วย)
ผู้ประกันตน ม.39*
1) เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ส่งเงินสมทบแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนและออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน
2) ต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม