McKinsey & Company ประเทศไทย เผยรายงานฉบับใหม่ล่าสุดเรื่อง “AI เพื่อสังคมที่ดี: การปรับปรุงชีวิตและการปกป้องโลก” หรือ “AI for social good: Improving lives and protecting the planet” รายงานนี้สำรวจศักยภาพของปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการช่วยจัดการกับความท้าทายทางสังคมที่สำคัญที่สุดของโลกตามที่กำหนดโดยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs)
ในรายงานดังกล่าว ได้มีการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญระดับสูงจากทั่วโลกและวิเคราะห์กระแสเงินทุนหลักที่ไหลเข้าสู่ AI เพื่อสกัดออกมาเป็นประเด็นสำคัญ อาทิ การใช้ประโยชน์จาก AI เพื่อพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น รวมถึงการประมวลผลทางภาษาตลอดจนการจดจำเสียงและการติดตาม
นอกจากนี้ ในรายงานยังระบุว่า 40% ของการลงทุนในภาคเอกชนมีแผนจะใช้ AI วิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อช่วยสนับสนุนเป้าหมาย SDGs และ 60% เห็นตรงว่า AI สามารถสร้างประโยชน์และเพิ่มศักยภาพให้ประเทศที่มีรายได้น้อย
AI เป็นส่วนสำคัญของการสร้างความก้าวหน้าของ SDGs ได้อย่างไร
AI อาจไม่ใช่ทั้งหมดของการเปลี่ยนโลกสู่ SDG แต่ต้องยอมรับว่า AI มีศักยภาพในการจัดการกับความท้าทายและการสร้างความแตกต่างสำหรับเป้าหมายในการทำ SDG 5 ประกาศตามที่ UN ได้กำหนดไว้ ประกอบด้วย สุขภาพดีและความเป็นอยู่ที่ดีการศึกษาที่มีคุณภาพ การดำเนินการเกี่ยวกับสภาพอากาศ พลังงานสะอาดและราคาไม่แพง ตลอดจนการพัฒนาเมืองและชุมชนที่ยั่งยืน
ปัจจุบันเราสามารถนำ AI ไปประยุกต์ใช้เป้าหมาย SDG ได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการสร้างแบบจำลองโปรตีนสำหรับใช้ทางการแพทย์ การคัดกรองยา การพัฒนาวัคซีน การบริการสาธารณะ รวมถึงการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
จากการสำรวจพบว่า AI สามารถจัดการหรือช่วยแก้ปัญหาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ใน 2 ประเด็นหลักๆ คือ 1. การใช้ AI พยากรณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า เช่น ปัญหาการรั่วไหลของน้ำที่อยู่ในท่อ โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นอายุการใช้งาน และตำแหน่งของท่อง และ 2. การระบุข้อมูลที่จำเป็นสำหรับทำงาน ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจที่ว่า มีองค์กรมากถึง 492 แห่ง (จาก 600 องค์กร) ที่มองว่า AI เป็นเทคโนโลยีที่มีศักยภาพมากพอที่จะสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาติ
นอกจากนี้ ยังมีประเด็นเรื่องการจัดการความเสี่ยงของการนำ AI มาใช้ โดยผู้เชี่ยวชาญกว่า 60 คนมีความกังวลในการใช้ AI ในหลายหัวข้อ โดยเฉพาะเรื่องความเหลื่อมล้ำที่เกิดจากอัลกอริทึม หรือการประมวลผลข้อมูลที่มาจากหลายหลายแหล่ง ที่ไม่สามารถระบุความถูกต้องของข้อมูลได้ และหากต้องให้ AI ประมวลผลก็มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดความลำเอียง อคติ หรือความไม่เท่าเทียมทางสังคม ที่จะส่งผลเสียต่อชุมชน และยังมีความกังวลในเรื่องความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย รวมถึงการนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ผิดอีกด้วย
ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ AI ในมิติต่างๆ
การประยุกต์ใช้ AI เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 3: สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
ปัจจุบัน AI ได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้มากมาย ไม่เว้นแม้แต่ทางการแพทย์ เช่น การสร้างแบบจำลองโปรตีน การถอดรหัสจีโนม การวิเคราะห์ภาพอวัยวะภายในด้วยคอมพิวเตอร์ และการพัฒนาวีคซีน ซึ่งการใช้งานด้านสุขภาพถือเป็นสาขาวิชาที่ใช้ AI ได้ง่ายกว่าด้านอื่นๆ เนื่องจากเป็นสาขาที่ต้องใช้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และขณะเดียวกัน การใช้ AI ทางการแพทย์ก็ยังมีโอกาสที่จะได้รับการสนับสนุนอีกมาก เพราะยังมีโรคระบาด หรือโรคทั่วไปยังต้องการเทคโนโลยีมาพัฒนายารักษาหรือแพลตฟอร์มสำหรับดูแลแม่และเด็กต่อไป เช่น Jacaranda Health องค์กรที่นำเสนอโซลูชั่นด้าน AI เพื่อยกระดีบคุณภาพการดูแลรักษาสตรีในเคนยา มีเป้าหมายที่ต้องการลดจำนวนมารดาที่จากการติดโรคร้ายแรง อาทิ วัณโรค มาลาเรีย และเอดส์ การยกระดับคุณภาพการรักษาโรคที่เกี่ยวกับแม่และเด็ก
การประยุกต์ใช้ AI เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 4: คุณภาพการศึกษา
ทั้งนี้ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) หมายเลข 4 มุ่งเน้นการสร้างความเท่าเทียมกันในด้านการศึกษา ส่งเสริมโอกาสการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป้าหมายดังกล่าวรวมถึงการจัดการศึกษาภาคบังคับ (ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา) การเข้าถึงการศึกษาปฐมวัยที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม และการบรรลุความรู้ความสามารถในการอ่าน เขียน คำนวณ อย่างถ้วนหน้า
ขณะนี้มีการนำอัลกอริทึม AI มาใช้ในด้านการศึกษา เช่น เครื่องมือพยากรณ์ที่ช่วยระบุความเสี่ยงของนักเรียนที่จะเรียนจบชั้นมัธยมปลาย ช่วยให้อาจารย์และนักเรียนที่มีความเสี่ยงจะเรียนไม่จบได้รับการดูแลที่ถูกต้อง นอกจากนี้ยังมีการใช้ AI สร้างแพลตฟอร์มการศึกษาที่ครอบคลุมมากขึ้นสำหรับเด็กเล็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้พิการ เพิ่มจำนวนนักเรียนที่เข้าเรียน และสร้างแผนการเรียนการสอนสำหรับครู รวมถึงการสร้างสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับพัฒนาการและความสนใจที่เฉพาะตัวของนักเรียน
อย่างไรก็ตาม การนำ AI มาใช้ในการศึกษาก็ยังมีข้อจำกัดเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและข้อมูลต่างๆ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชากรในประเทศกำลังพัฒนา
ตัวอย่างการใช้ AI ด้านการศึกษา: Livox เป็นแพลตฟอร์มที่ใช้ AI และ Machine Learning เพื่อปรับเนื้อหาให้เหมาะสมกับนักเรียนที่มีความพกพร่องในด้านต่างๆ อาทิ การพูด การเคลื่อนไหว การรับรู้ และการมองเห็น โดยซอฟต์แวร์จะทำหน้าที่แปลงภาษากว่า 25 ภาษา และมีผู้พิการใช้งานกว่า 25,000 คน
การประยุกต์ใช้ AI เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 13: การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ปัจจุบันผู้คน AI สามารถนำมาใช้วิเคราะห์ชุดข้อมูลขนาดใหญ่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ สร้างแบบจำลองผลกระทบ ปรับปรุงผลผลิตทางการเกษตร และลดการปล่อยมลพิษจากการคมนาคมขนส่งและกระบวนการทางอุตสาหกรรม
ตัวอย่างของการใช้ AI ในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น แพลตฟอร์ม Global Forest Watch (GFW) ใช้ AI ช่วยรายงานการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โดยให้ข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์ รวมถึงให้ข้อมูลและติดตามการทำลายป่าโดยใช้ดาวเทียม และ Deep Learning ช่วยให้ภาครัฐ ภาคประชาสังคม และองค์กรต่างๆ ได้เตรียมพร้อมรับมือ และกำหนดนโยบายที่ส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม
เนื้อหาข้างต้นเป็นเพียงบางส่วนของรายงาน หากต้องการอ่านเต็มๆ สามารถดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มได้ที่ Mckinsey
ที่มา Techsauce