World Resources Institute (WRI) ได้ออกบทความเรื่อง 10 Breakthrough Technologies Can Help Feed the World Without Destroying It ซึ่งเสนอ 10 เทคโนโลยีเพื่อผลิตอาหารโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
(ดูรายละเอียดที่ www.wri.org)
10 เทคโนโลยีดังกล่าว ได้แก่
• เนื้อสัตว์จาก plant-based – เนื่องจากเนื้อสัตว์จาก plant-based ใช้ที่ดินและปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำกว่าเนื้อวัวถึง 20 เท่า (ต่อหน่วยน้ำหนักที่เท่ากัน)
• การยืดอายุการเก็บรักษา – เพื่อลด food waste โดยเฉพาะผักและผลไม้ ซึ่งอาจใช้เทคโนโลยีการเคลือบหรือใช้ฟิล์มห่อเพื่อยืดอายุได้
• การลดการปล่อยก๊าซมีเทนจากวัว – ราว 1 ใน 3 ของก๊าซเรือนกระจกของภาคเกษตรมาจากก๊าซมีเทนจากวัว หลายบริษัทจึงกำลังศึกษาการใช้อาหารสัตว์เพื่อลดก๊าซมีเทนของวัว เช่น 3-NOP ของ DSM ที่ลดก๊าซมีเทนได้ 30%
• การรักษาก๊าซไนโตรเจนไว้ในดิน – ราว 20% ของก๊าซเรือนกระจกของภาคเกษตรมาจากก๊าซไนโตรเจนจากการใช้ปุ๋ยและมูลสัตว์ ซึ่งทำให้เกิดก๊าซ N2O อันเป็นก๊าซเรือนกระจก จึงมีความพยายามรักษาก๊าซไนโตรเจนไว้ในดินต่อไป
• พืชที่ดูดก๊าซไนโตรเจน – อีกวิธีหนึ่งคือ การพัฒนาพืชให้ดูดก๊าซไนโตรเจนจากดินให้มากขึ้น
• ข้าวที่ปล่อยก๊าซมีเทนต่ำ – ราว 15% ของก๊าซเรือนกระจกของภาคเกษตรมาจากก๊าซมีเทนของการผลิตข้าว นักวิจัยจึงกำลังพัฒนาพันธ์ข้าวให้ปล่อยก๊าซมีเทนลดลง 30%
• การใช้เทคโนโลยีตัดแต่งยีน (CRISPR) เพื่อเพิ่มผลผลิตพืช
• ปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตสูง – เพื่อลดการทำลายป่าทั้งในเอเซีย แอฟริกา และลาตินอเมริกา เช่น PT Smart ในอินโดนีเซีย ได้พัฒนาปาล์มน้ำมันให้มีผลผลิตสูงกว่าปัจจุบันถึง 3 เท่า
• อาหารปลาจากสาหร่าย – เพื่อลดการใช้สัตว์น้ำจากการประมง โดยสาหร่ายจะมีกรด Omega-3 เช่นเดียวกับสัตว์น้ำ
• การผลิตปุ๋ยด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ – การผลิตปุ๋ยไนโตรเจนจะใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิลจำนวนมาก ซึ่งปล่อย ก๊าซเรือนกระจกสูงตามไปด้วย โรงงานปุ๋ยในออสเตรเลียจึงพัฒนาการผลิตด้วยแสงอาทิตย์เพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล
——————————