เมื่อเร็วๆนี้สถานีวิทยุรัฐสภา FM 87.5 MHz. รายการ “เศรษฐกิจใก้ลตัว” โดยคุณนันท์ปภัทร เฉลิมสินหิรัญได้เชิญคุณประเสริฐศักดิ์ องค์วัฒนกุลที่ปรึกษาอาวุโส กลุ่มธุรกิจยานยนต์และอุตสาหกรรมในจีน เครือเจริญโภคภัณฑ์ มาแบ่งปันเรื่องราวการดำเนินธุรกิจของเครือฯ มีหลายประเด็นที่น่าสนใจ Wearecpขอนำมาบอกกล่าวชาวซีพีได้รับทราบ
พิธีกร:คุณประเสริฐศักดิ์อยู่กับเครือซีพีมากี่ปีแล้วคะ
คุณประเสริฐศักดิ์:ปีนี้ก็เป็นปีที่ 46 ครับ จบปริญญาตรีจากอเมริกาก็ทำงานเลยครับ
พิธีกร:เล่าให้เราฟังสักนิดหนึ่งได้มั้ยคะ สำหรับเรื่องราวของซีพีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
คุณประเสริฐศักดิ์:ปีหน้าทางเครือเจริญโภคภัณฑ์ก็เตรียมการใหญ่ที่จะฉลอง 100 ปีเครือเจริญโภคภัณฑ์ จริง ๆ แล้วธุรกิจก็เกิดจากที่เราพูดภาษาพื้น ๆ แบบชาวบ้านเกิดจากห้องแถวที่แถวทรงวาด ในธุรกิจเดิมก็เป็นรุ่นของคุณพ่อ คุณอาซึ่งทำธุรกิจเรื่องเมล็ดพันธุ์ เจียไต๋ เริ่มจากความชำนาญเรื่องเมล็ดพันธุ์ ก็มาลองผสมผสาน และก็ให้รุ่นลูกเป็นการสืบทอดทางธุรกิจอาหารสัตว์ออกไป เป็นสิ่งที่มหัศจรรย์มาก ๆ จากรุ่นคุณพ่อ คุณอา รุ่นลูกทุกคนอยู่ในวงจรคล้าย ๆ กับว่าเป็นภาควิชา เป็นเทคโนโลยีในตัวเอง การที่เราจะกระโดดออกมาทำธุรกิจอีกอย่างหนึ่ง ผมคิดว่าสิ่งที่สำคัญที่สุด มองถึงเรื่อง Know-How เรื่องเทคโนโลยีต่างๆ ที่อยากเข้ามาเสริม แม้กระทั่งจะทำอาหารสัตว์ ก็ต้องหาวัตถุดิบที่เป็นส่วนประกอบ ที่ต้องมีคุณภาพ ต้องไปหาเมล็ดพันธุ์พืชที่เหมาะสมในการทำอาหารสัตว์ แล้วยังไม่พอ ยังก้าวกระโดดไปหานักวิชาการที่เก่ง ๆ เก่งเฉพาะด้านมาช่วยกัน มาผสมผสานกัน อุปกรณ์เครื่องจักร ไปหาซื้อมา select มาต่างๆ เพื่อที่ให้มันถูกต้อง สิ่งเหล่านี้มันเป็นพื้นฐานที่เครือเจริญโภคภัณฑ์ที่ให้ความสนใจว่าจะทำอะไรก็ทำด้วยใจ ทำด้วยความจริงจัง ทำด้วยความรับผิดชอบ ในวงจรการทำธุรกิจนั้นจะสำเร็จในยุคหลัง ยุครุ่นที่ 2 แล้ววันนี้ ก็ไปถึงระดับโลกแล้ว
พิธีกร: ก็คือ จับงานด้านการเกษตร เพราะถือว่า เมืองไทยคือ หลัก ๆ ของเราเป็นประเทศเกษตรกรรม เพราะฉะนั้นอะไรล่ะที่จะดีไปกว่าการส่งเสริมการเกษตรให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป
คุณประเสริฐศักดิ์: ประเทศไทยเราเป็นพื้นฐานการเกษตร แต่การเกษตรอย่างเดียวไม่พอ เราต้องเสริมคำว่าอุตสาหกรรมด้วยไม่ใช่ว่าปลูกข้าวโพด ข้าวเสร็จแล้วมากินตรง ๆ การที่จะมีโอกาสเอาสินค้าเหล่านี้มาแปรรูป แปรสภาพต่อเนื่องไปถึงสุดท้ายเป็นอุตสาหกรรม สิ่งเหล่านี้ผมเชื่อว่ารุ่นในยุคคุณพ่อ คุณอา และรุ่นลูกจนถึงทุกวันนี้ เรายังต้องคิดต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ จากวันนั้นที่อาหารสัตว์ เลี้ยงไก่ เลี้ยงหมู แม้กระทั่งเลี้ยงไก่ก็ต้องไปหาพันธุ์ที่ดีที่สุดในโลกนี้จากอเมริกา หมูเองก็ต้องมาจากยุโรปมาจากอเมริกาหาพันธุ์ที่ดีที่สุด ไม่ใช่มีหมูแล้วเลี้ยงไปเรื่อย ๆ มีไก่ก็เลี้ยงไป มันไม่ใช่ครับ เราต้องเข้าใจสิ่งที่มันเป็น Know-How สิ่งเหล่านี้เราต้องหาผู้เชี่ยวชาญและสิ่งเหล่านี้โดยเฉพาะในรุ่นนี้ ในเวลานี้ ท่านประธานธนินท์ทุ่มเทเรื่องพวกนี้มาก ยิ่งเจาะลึกเป็นสิ่งที่ท่านสนใจมาก ทุกวันนี้ที่เราทำธุรกิจได้ใหญ่โต ในโลกนี้ หลายประเทศ เราขยายไปถึงอินเดียใหญ่มาก ในเมืองจีนยิ่งใหญ่อยู่แล้ว สิ่งเหล่านี้เกิดจากท่านประธานอาวุโสมี vision แล้วท่านกล้าสร้างคน กล้าหาคน หาเทคโนโลยีมา
พิธีกร :ถึงตรงนี้ทำอย่างไร? ถึงพัฒนาในส่วนของประเทศไทย และขยายไปต่างประเทศโดยเฉพาะจีน จีนถือว่า เป็นฐานการผลิตที่สำคัญของซีพีเลยทีเดียวอยากให้เล่าตรงนี้
คุณประเสริฐศักดิ์: ย้อนกลับไปสัก 40 ปีที่แล้ว ในปี 1980 จริง ๆ แล้วทางเครือก็มีโรงงานอาหารสัตว์เล็ก ๆ อยู่ที่ฮ่องกง ที่เมืองเซิ่นเจิน ประสบการณ์อันนี้ทำให้เราเห็นโอกาส แล้วช่วงที่จีนเริ่มประกาศเปิดประเทศ สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ เราเองมี partner ที่ดีจากอเมริกา ที่เป็นบริษัทที่ใหญ่เรื่อง วัตถุดิบทั่วโลก คือบริษัท Continental Grain พอประเทศจีนเปิดให้จดทะเบียน ท่านประธานธนินท์ ก็นำบริษัทอเมริกามาร่วมลงทุนกันเป็น partner แล้วเข้าไปจดทะเบียนเป็นบริษัทแรกของประเทศจีน ที่เขาออกใบอนุญาติให้ซีพีเป็นบริษัทแรก อันดับหนึ่ง
ท่านประธานธนินท์เอง เป็นคนที่ทุ่มเทมาก ท่านก็เริ่มเข้าไป ที่สำคัญที่สุด ท่านเริ่มเข้าไปสัมผัสด้วยตัวเอง ไปสร้างความสัมพันธ์ด้วยตัวเอง ไปเรียนรู้โอกาสด้วยตัวเอง ในช่วงนั้นสภาพเป็นคอมมูนิสต์จริง ๆ ท่านประธานธนินท์ยังไม่มีรถใช้ ต้องไปขอยืมจากหน่วยงานสถานทูตไทยและหน่วยงานต่าง ๆ ลองคิดดูสิครับ ความยากลำบาก แต่ท่านอดทน ผมจะพูดเป็นประโยคเดียว คำว่า “PRC” พวก People Repubic Of China Pตัวที่หนึ่ง Patience คือ ความอดทน ที่ผมพูดอยู่ในช่วงต้น ๆท่านประธานธนินท์มีความอดทนมาก ๆ จะลำบากยังไง แต่ท่านเห็นโอกาสยิ่งต้องอดทนใหญ่ เมื่อเราเห็นโอกาสอย่าเพิ่งรีบ ยิ่งต้องอดทนในการต่อเนื่องคือ อาจต้องไป สร้างความสัมพันธ์ Relationship ผมเปรียบเทียบคำหนึ่งอย่าไปหาว่าท่านไปหา Connection ไม่ใช่ครับ ผมอยากบอกท่านประธานธนินท์ไปสร้าง Relationship ความสัมพันธ์ ความเข้าใจกับทุกหน่วยงานที่ท่านต้องเข้าไปสัมผัส ให้เขาเข้าใจเรา แล้วทุกวันนี้การเติบโตของเครือเจริญโภคภัณฑ์ไม่ใช่เฉพาะอาหารสัตว์ ไม่ใช่เลี้ยงไก่ เลี้ยงหมูวันนี้เราเติบโตไปทางอุตสาหกรรม ทาง Property ในจีน C สุดท้าย เพิ่ม Contribution คำนี้ท่านประธานธนินท์พูดอยู่ประจำว่า 3 ประโยชน์ คืออะไรใน Contribution คือ ให้ เราได้เราต้องให้ ให้คืนประเทศชาติ เราคืนอยู่แล้วทุกวัน ทุกเดือน ทุกปี คือ คืนภาษี จ่ายภาษี Contribution กลับไปให้ประเทศ ทั้งจีน ทั้งเมืองไทย ประโยชน์อันที่ 2 ต้องคืน ทีมงาน ถ้าทีมงานเขาอยู่แข็งแรง สมบูรณ์อย่างมีอนาคต การทุ่มเทของทีมงานก็จะเกิดขึ้นต่อองค์กร อันที่ 3 ที่ต้องให้คือ Contribute คือบริษัทต้องต่อเนื่องเพื่อความยั่งยืนสุดท้าย PRC > Patient อดทน / Relationship/ สร้างความสัมพันธ์ Contribution ให้ แล้วบริษัท คือ สุดท้ายที่จะได้รับสิ่งนี้ และสร้างความยั่งยืนให้องค์กรได้
พิธีกร: เราเริ่มต้นจากผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลิตผลทางด้านการเกษตร เป็นอุตสาหกรรมการเกษตร ต่อมาก็แตกเป็นบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งก็มีคนตั้งคำถามว่าทำไมทำทุกอย่างเลย ทำไมถึงจับงานได้หลาย ๆ ด้าน
คุณประเสริฐศักดิ์: ใช่ครับ ผมขอแชร์มองอีกด้านหนึ่ง เซเว่นอีเลเว่นไม่ใช่ของซีพีนะครับ เป็นของบริษัทญี่ปุ่น เขาเห็นคุณสมบัติที่ดีของซีพี เขาถึงกล้ามาให้เราเป็นเอเย่นต์เขา เป็นตัวแทนเขาในเมืองไทย ไม่ใช่เราอยู่เฉย ๆ ไปบอกเป็นเจ้าของเซเว่นอีเลเว่น เรายัง under license ของเซเว่นอีเลเว่นของญี่ปุ่น เขาต้องเห็นศักยภาพ เขาต้องเห็นประสิทธิภาพ เขาต้องเห็นความดีของซีพีเขาถึงกล้าที่จะมอบ License ให้เราในการเปิดเซเว่นอีเลเว่น หรือรถยนต์ซีพี ก็ไม่ใช่ของเรา 100% จีนเองเขาต้องมองว่า การที่จะเอารถ MGของเขามาในเมืองไทย เขาต้องหาประสิทธิภาพของ partner ที่เขาจะเข้ามาร่วมด้วย สิ่งเหล่านี้ทุกคนพูดได้ มองได้ แต่อย่ามองแค่มุมเดียว มันต้องมองหลายด้าน และก็หาเหตุ หาผล อย่างที่ผมพูดว่า…บางอย่างต้องมาคุยกันมาแชร์กัน ก็จะเกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง
พิธีกร: มีทั้งคนที่ชื่นชมกับการที่ทำงานจนเจริญเติบโตธุรกิจใหญ่โต ก็ถือเป็นเรื่องดี แต่บางคนจะมองว่า..ทำไมทำทุกสิ่งทุกอย่างเลย แล้วเป็นการแย่งอาชีพคนอื่น ๆ หรือเปล่า อย่างกรณี เซเว่นอีเลเว่น
คุณประเสริฐศักดิ์: ที่ผมเล่าวันนี้ สมาคมโชว์ห่วยเองก็พัฒนาไปมากเหมือนกันอย่าพูดว่าแข่งขันกัน การที่มีหน่วยงานหนึ่งมาเป็นตัวเปรียบเทียบ มาเป็นกระจกส่องเป็นเงาให้เรา เราเองยิ่งต้องพัฒนา ผมคิดว่า…..สมาคมโชว์ห่วยวันนี้พัฒนาไปเยอะ แต่สิ่งที่มันเป็น Positiveอีกด้านหนึ่งของเซเว่นอีเลเว่น เรากลับเป็นการ Motivation ให้สังคม ผลักดันให้สังคมก้าวกระโดดที่ดีขึ้น ๆ ใครจะไปรู้อีก 5 ปี 10 ปี อาจจะมีแนวความคิดที่ดีกว่าเซเว่นอีเลเว่น ซีพีเองตัวแทนเซเว่นอีเลเว่นในเมืองไทย ปรับปรุงสร้างสิ่งใหม่ ๆ เพื่อทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย เราใช้แบบเดิม ๆ ก็ไม่ได้ สังเกตตอนนี้มีโรบอร์ทมาช่วยเรื่องโน้น เรื่องนี้ แม้กระทั่งการจ่ายสตางค์มันก็สะดวกขึ้น หยิบปุ๊บไปจ่ายเอง แม้กระทั่งวันนี้เงินสดก็ไม่ต้องใช้ สิ่งเหล่านี้มันเป็นการพัฒนาเทคโนโลยี เราต้องอยากขอบใจมากกว่ามีเซเว่นอีเลเว่น ทำให้ผู้ที่เป็น supplier ผู้ที่ผลิตสินค้าอาหารจะต้องอยู่ในกรอบ ทุกอย่างต้องมาตรฐาน เราเองยังต้องไปช่วยเขาที่โรงงานพัฒนาสิ่งที่เป็นมาตรฐาน เรายังต้องไปคอยดูว่า…วัตถุดิบที่เข้ามามันถูกต้องไหม เป็นกระจกอีกด้านหนึ่งให้กับผู้บริโภคโดยตรง ความไว้วางใจต้องเกิด
วันนี้ก็คือ วันนี้ พรุ่งนี้กับมะรืนอาจจะไปไกลกว่าที่เราคิดฉะนั้นถ้าเรายังคิดแบบเดิม ๆ ทำแบบเดิม ๆ ชีวิตประชาชนในสังคมนั้นก็จะแย่ลง แต่ถ้าวันนี้เราคิดต่อยอดไป 5 ปี 10 ปีข้างหน้า เราต้องกล้าที่จะทำผมคิดว่ามองในประเด็นสิ่งเหล่านี้เป็นหลักที่ทำให้เจริญเติบโต เพราะถ้าเราไม่มองไกลออกไป และทำสิ่งที่เดิม ๆ ผมถามว่า..นักศึกษาที่จบใหม่ ๆ จะมีโอกาสหางานทำแบบนี้ไหม อย่าลืมนะครับ อีกด้านหนึ่งองค์กรที่เติบโต ก็คือแรงที่จะต้องรับภาคการศึกษาที่จบออกมา ปริญญาตรี อาชีวะ ถ้าองค์กรไม่เติบโต ไม่ขยาย ไม่มีภาคธุรกิจมารองรับ ภาคการศึกษาก็ต้องถอยหลังไปเยอะ พอจบมาแล้วไม่มีงานทำ มันเป็นการผสมผสานกัน ร่วมกัน สิ่งเหล่านี้คิดด้านเดียวก็ไม่ได้ เราต้องคิดหลายด้านร่วมกัน อย่างที่ผมยกตัวอย่างเซเว่นอีเลเว่น ผมขอเล่าเป็นสตอรี่ อย่าง กลางคืนมีคุณพ่อนัดลูกสาว และพอดีคุณพ่อติดธุระประชุม ลูกสาวก็กังวล คุณพ่อก็โทรศัพท์บอกลูกสาวบอกว่า ลูกถึงในซอยแล้วไปคอยที่ร้านเซเว่นอีเลเว่น ลูกซื้อของในเซเว่นอีเลเว่นทาน…ทำไมครับ ในเซเว่นอีเลเว่นในซอยเปลี่ยว ๆ ไม่ว่าซอยไหนในประเทศไทย ไฟสว่างที่สุด ปลอดภัยที่สุด นอกจากนั้นเวลาหิวก็ซื้อกินได้ ผมถามว่าในซอยเปลี่ยว ๆ ในประเทศไทย เซเว่นอีเลเว่นเป็นที่ให้ความปลอดภัยกับลูกสาวเรา ลูกชายเรา
พิธีกร: ก็เป็นจุดนัดพบ เป็นจุดที่จะไปรับและรู้สึกว่าสามารถที่จะปลอดภัยด้วยเพราะว่า…ถ้าเป็นอดีต เราไม่มีร้านสะดวกซื้อ ก็ต้องรออาจจะป้ายรถเมล์อาจจะไฟเสียบ้าง ไม่เสียบ้าง โอกาสในการที่จะเจอเรื่องมิจฉาชีพก็มีสูงก็ไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน อันนี้เป็นมุมทางด้านสังคม บางทีคนอาจจะไม่ได้มองในมุมนี้ไป
คุณประเสริฐศักดิ์ : วันนี้เซเว่นอีเลเว่นเป็นประเด็นที่ทำให้ธุรกิจในด้านอื่นเติบโตขึ้นมาเยอะแยะ ความต้องการของผู้บริโภค ต้องการมาตรฐานของสินค้า ฉะนั้นวันนี้ผู้ผลิตต้องกล้าที่จะพัฒนาตัวเองเพื่อตอบโจทย์ที่เขามีความต้องการมาตรฐานคุณภาพ หยิบจับสินค้าเซเว่นอีเลเว่นมาทาน เรารู้สึกสบายใจ เรารู้สึกปลอดภัย เรารู้สึกภูมิใจที่จะจ่ายใช้บริการในทุกด้าน สิ่งที่ผมแชร์ก็เป็นมุมหนึ่ง ผมคิดว่าในเครือบริษัทผู้บริหารมีอีกหลายมุมที่จะแชร์ ยิ่งแชร์ยิ่งเยอะ มันยิ่งสร้างสรรค์กัน
พิธีกร: คราวนี้ในสิ่งที่มีเกิดขึ้นในแวดวงของซีพี อย่างเซเว่นอีเลเว่น น่าจะเป็นตัวอย่างที่เราเห็นได้ง่ายขึ้น มีโรงเรียนเกิดขึ้น มีการสอนให้กับพนักงานเรียนรู้และมีการหมุนเวียนงานในทุก ๆ ตำแหน่งเพื่อที่จะให้เป็นสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มีการสอนจริง ๆ สอนเป็นจริง เป็นจังเลย จนท่านจบเป็นหลักสูตรเลย ทำไมถึงทำตรงนี้ขึ้นมาคะ
คุณประเสริฐศักดิ์ :วันนี้บุคลากรที่เราคัดขึ้นมาจบจากสถาบันไหน แต่แน่นอนองค์กรใหญ่เครือเจริญโภคภัณฑ์ เขาต้องมีหน่วยงานที่จะมาหลอมใหม่ให้เป็นทีมเดียวกัน สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทำและถูกต้องที่สุด ผมคิดว่าทำไมสมัยก่อนการทำงาน ทุกวันนี้ไม่มีแล้วต้องมาคล้ายว่าทดลองงาน 5 เดือน 4 เดือน 6 เดือนมันเหมือนกัน คือ จับคนเหล่านี้มาหลอมให้มันเป็นชิ้นเดียวกัน คิดแนวทางเดียวกัน แชร์ประสบการณ์จากผู้ที่เป็นผู้บริหารมาแชร์ให้กับพนักงานใหม่ฟัง อย่างที่ผมบอกไปว่าในเครือซีพีวันนี้ ท่านประธานธนินทร์สร้างโครงการเถ้าแก่น้อย คำว่าเถ้าแก่ทุกคนก็ทราบใช่ไหม เถ้าแก่นี้ตั้งแต่จับกังถึงหลงจู๊ไปถึงเจ้าของ เขาเรียก เถ้าแก่ ฉะนั้นคนที่จบใหม่ ๆ เราก็ต้องมีหน้าที่มาหลอมให้เป็นชิ้นเดียวกัน ให้เป็นเรื่องเดียวกัน ให้คิดในแนวทางเหมือนกัน ด้วยสิ่งที่เราทำ ไม่ใช่เราต้องการบอกว่า จบมาแล้วยังไม่ใช่ แต่สิ่งที่เราทำ เราทำเพราะว่าเรามีความประสงค์ในธุรกิจของเราที่อยากจะให้คนเหล่านี้โตไปพร้อมกับเรา การหลอมแบบนี้มันเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เราให้โอกาสนักศึกษาที่จบใหม่ ๆ
อยากให้เปรียบเทียบ จริง ๆ แล้วประเทศต่าง ๆ ที่อยู่ในต่างประเทศ กลุ่มธุรกิจใหญ่ ๆ เขาจะมีลักษณะคล้ายซีพี คือ เป็นบริษัทที่มีหลากหลายธุรกิจ บางทีเราอาจจะต้องอธิบายว่า การที่มีหลาย ๆ ธุรกิจอยู่ในเครือ..ข้อดีมันคืออะไร ข้อดี ผมจะเรียนว่า สินค้าในแต่ละธุรกิจมันก็ไม่เหมือนกัน อย่างสมมุติเราจะเอาคนที่เก่งเรื่องอุตสาหกรรมการเกษตรไปทำรถยนต์ มันก็คนละ version กัน ฉะนั้นในทีมของเราจะต้องมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่เก่งเรื่อง Technical Engineering / Industrial Engineering แม้กระทั่งบริษัททรู ก็ต้องมีคนที่เก่งเรื่อง communication การที่เครือหรือกลุ่มบริษัทใหญ่ ๆ ในโลกนี้มีโอกาสเติบโต แตกแยกสาขา ผมว่าแต่ละประเทศต้องขอบใจบริษัทเหล่านี้นะ ที่สร้างเครือข่ายในการรับบุคลากรที่จบแต่ละสาขา มีโอกาสเข้าไปทำงาน เพราะต้องมองในแง่อีกแง่หนึ่ง อย่างสมมุติเราเป็นบริษัทเดียวที่ทำสินค้าอยู่อย่างเดียว แล้วผมถามว่านักศึกษาที่จบใหม่ ๆ จะไปทำอะไรในแต่ละสาขา วันนี้แม้เราบอกว่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ ยังมีกี่ภาควิชาครับ มีเยอะหลายสาขาวิชา มีไฟฟ้า มีโยธา วันนี้มันเยอะแยะ แม้กระทั่งภาคการศึกษายังต้องแตกภาควิชาออกมา การทำธุรกิจผมคิดว่าถ้ามันมีโอกาส มันไม่มีคำว่าเพดาน ฉะนั้นคนไม่คิด Positive คิดอย่างเดียวว่า monopoly พูดและเข้าใจ ถ้าองค์กรเอกชนไม่เติบโต ไม่กล้าขยาย ภาคการศึกษาต้องปิด
พิธีกร: มันเป็นส่วนของการที่ทำให้ธุรกิจกระจายความเสี่ยงไปด้วยหรือเปล่าเพราะถ้ายิ่งมีบริษัทในเครืออยู่ในหลากหลายสาขา ถ้าวันหนึ่งเศรษฐกิจของโลกด้านหนึ่งมันพังลง เราก็ยังมีอีกด้านหนึ่งในการพยุงธุรกิจของเราให้ต่อยอดเติบโตได้อยู่
คุณประเสริฐศักดิ์: คำ ๆ นี้เป็นสิ่งที่น่าท้าทาย คำว่า ความเสี่ยง วันนี้ในแง่ของธุรกิจ จากประสบการณ์ของผม เขาไม่มองเฉพาะประเทศเดียวแล้ว โอกาสที่เขาก้าวกระโดดไปประเทศอื่น นี่คือ การ sharing ความเสี่ยง อยู่ในประเทศเดียว
อย่างน้อย เราต้องเข้าใจความหมายมันก่อน ถ้าเราไม่เข้าใจแล้วมาพูด องค์กรอย่างเครือเจริญโภคภัณฑ์ทุกวันนี้ บางคนก็เข้าใจ negative ว่าเขาขยายไปเพื่อที่จะเลี่ยงโน้น เลี่ยงนี่ ไม่ใช่ครับ เราไปทุกประเทศที่เขาต้อนรับเรา เขายอมรับเรา ท่านประธานธนินท์พูดอยู่หนึ่งประโยคว่า “เราต้องเป็นเด็กที่อยู่ในระเบียบ” อะไรต้องเสีย อะไรต้องทำ ทำเถอะ เพราะเราเชื่อว่าธุรกิจของเรามีโอกาสที่จะเติบโต แล้วสิ่งที่ท่านประธานธนินท์มองถึง ความเสี่ยง หรือไม่เสี่ยง ท่านเสี่ยงมากกว่าคนที่คิดอีก เพราะท่านประธานธนินท์ กล้าใช้คน local ในประเทศนั้นเป็นผู้ยิ่งใหญ่ เป็นถึงประธานบริษัทแล้วถามว่าท่านประธานธนินท์เคยจะต้องเสี่ยงไหม วันนี้ทุกธุรกิจในต่างประเทศเราเกือบจะ Localization แล้ว
พิธีกร:จากที่ฟังและได้คุยกับคุณประเสริฐศักดิ์จะเห็นว่า การที่ทำให้ธุรกิจเติบโตมันไม่ใช่แค่จะต้องใช้ความกล้าอย่างเดียวเท่านั้น ต้องลงมือปฎิบัติด้วยและสิ่งที่เกิดขึ้นกับในเครือเจริญภัณฑ์ก็คือ เขามีความคิดนอกกรอบเขามีความคิดในเรื่องของนวัตกรรม และสิ่งใหม่ ๆ และสิ่งที่ทำก็คือลงมือปฎิบัติเพื่อให้มันเกิดผลจริง ๆ หลาย ๆ คนคิดแต่ไม่ทำ และดูคนอื่นเติบโตและก็ว่าทำไมเขาถึงเป็นอย่างนั้น มาแย่งงาน ต่อว่าคนอื่นอันนี้คือสิ่งที่เราเห็นในสังคมขึ้นมาได้เยอะจริง ๆ เราต้องเอาบทเรียนจากคนที่เขาทำอะไรแล้วประสบความสำเร็จมาใช้กับการทำธุรกิจของเราเพื่อที่ให้ต่อยอด เพราะฉะนั้นเลยอยากได้ความคิดในเรื่องของเชิงนวัตกรรมที่ทางเครือเจริญโภคภัณฑ์พยายามปลูกฝังให้กับพนักงานเป็นอย่างไร?
คุณประเสริฐศักดิ์: อย่างที่ผมเรียนตอนต้น ๆ ท่านประธานธนินท์จะพูดถึงว่าเราเองทำอะไรต้องคิดถึง 3 ประโยชน์ คือ ต้องปลูกฝังให้ทุกคนคิดว่าทำเพื่อชาติ ทำเพื่อทีมงาน และสุดท้ายคือองค์กร ด้วยสิ่งที่ปลูกฝังเราต้องรู้จักคำว่า contribution ที่ผมเรียนตอนต้น ถ้าเราไม่ contributionในสิ่งที่เราได้ สิ่งที่เราให้ แล้วพนักงานเขาเห็นเราเติบโต เขาไม่ได้อะไรแล้วเขาจะอยู่กับเราไหมครับ แล้ว สิ่งที่เราต้องเสียคือ ให้ประเทศชาติก็คือ ภาษีที่ถูกต้อง เราก็ต้องทำ ฉะนั้น Contribution เป็นสิ่งที่เราต้องรับผิดชอบและต้องทำ กลับมาอีกเรื่องคือ Relationship ที่ผมเรียนตั้งแต่ต้นว่า อะไรก็ตามความสัมพันธ์เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด แต่อย่าไปใช้คำว่า connection คนละประเด็นกัน
พิธีกร: ต้องขอบคุณ วันนี้ได้รับเกียรติจริง ๆ ค่ะ ที่ปรึกษาอาวุโส กลุ่มธุรกิจยานยนต์และอุตสาหกรรมในประเทศจีน เครือเจริญโภคภัณฑ์ คุณประเสริฐศักดิ์ องควัฒนกุล ให้เกียรติอย่างยิ่งเลย ดิฉันอยากให้คุณผู้ฟังได้ดึงมุมดี ๆ ในสิ่งที่ทำให้เศรษฐกิจเติบโต ทำให้องค์กรของท่านเติบโต หลาย ๆ คนบ่นว่าเศรษฐกิจ
ไม่ดี ท้อ ธุรกิจเราแย่ มองอะไรก็เป็นลบไปหมดเลย ถ้าเราไม่เปลี่ยนมุมมอง หรือเราไม่พยายามที่จะหาทางแก้ไข เพื่อทำ ให้เราสามารถที่จะยืนอยู่ได้ จะทำให้เราดิ่งลงไปทุกทีๆ แต่ถ้าเรายก ระดับจิตใจ เรามีมุมมองที่กว้างขึ้น เราจะมองเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์เสมอ อันนี้คือ สิ่งที่อยากจะฝากไว้กับ รายการ “เศรษฐกิจใกล้ตัว” ซึ่งต้องขอขอบคุณมาก ๆ สำหรับวิทยากรของเรา คุณประเสริฐศักดิ์ องค์วัฒนกุล ที่ให้เกียรติมาพูดคุยกับเราในวันนี้ กราบขอบพระคุณมากๆ ค่ะ
ขอบคุณ: คุณนันท์ปภัทร เฉลิมสินหิรัญ/คุณวรวิทย์ จันทร์ศิริ
สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา