ผศ.ดร.ธรณ์ กล่าวว่าองค์กรธุรกิจกำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายคร้ังสำคัญในการรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศที่แปรปรวนมากขึ้นทุกขณะ จนการวางแผนการดำเนินธุรกิจมีความยากขึ้นเรื่อยๆ
วันนี้องค์กรเอกชนและภาคธุรกิจจึงต้องคำนึงถึงความยั่งยืน (sustainability) และความยืดหยุ่นในการปรับตัว (Resilience) ซึ่งคำสองคำนี้มีบทบาทมากขึ้นในการปรับตัวของภาคธุรกิจหลังวิกฤตโควิด-19 รวมทั้งภาวะโลกร้อน
เทรนด์ธุรกิจจากนี้จะยิ่งแข่งขันกันมี Business Model ที่ดีไซน์ออกมาโดยไม่รบกวนสิ่งแวดล้อม ขณะนี้วิกฤตโควิด-19 ได้ส่งผลให้ธุรกิจต่างปรับตัวด้านการรีแพคเกจจิ้งมากขึ้น ให้มีความรักษ์โลก ไม่ใช่พลาสติกในแบบดั้งเดิมอีกต่อไป
ผศ.ดร.ธรณ์ เสนอแนะการตั้งเป้าการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน หรือ SDGs ที่จะต้องท้าทายมากขึ้นและทำให้ดีกว่าปัจจุบัน ซึ่งมองว่าองค์กรธุรกิจอย่างซีพีแตะถึงเป้าหมายนั้นแล้ว แต่จะต้องตั้งเป้าหมายที่ท้าทายมากขึ้นไปอีก ทั้งกลยุทธ์และยุทธศาสตร์ ซึ่งปัจจุบันซีอีโอเครือซีพี ออกมายืนแถวหน้าในการผลักดันประเด็น Zero Carbon และ Zero Waste ที่ถือเป็นเรื่องท้าทายมาก
ผศ.ดร.ธรณ์ กล่าวชื่นชม คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ซีอีโอเครือซีพี ที่กล้าประกาศเป้าหมาย Zero Carbon ภายในปี 2030 และให้กำลังใจพนักงานในเครือซีพีที่จะต้องร่วมมือร่วมใจสานต่อเรื่องนี้
ผศ.ดร.ธรณ์ ยังกล่าวถึงสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้ระบบนิเวศทางท้องทะเลสงบขึ้น เพราะมีเรือท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวต่างชาติน้อยลง อย่างไรก็ตามก็มีผลกระทบทางเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน
จากตัวเลขนักท่องเที่ยวที่เคยมาประเทศไทยปีละ 40 ล้านคนนั้น คาดว่าจะมีตัวเลขลดลงราว 2 ปี จนกว่าจะมีวัคซีน
ผศ.ดร.ธรณ์ กล่าวถึงสถานการณ์ที่มีการอ้างรายงานข่าวว่าน้ำอาจจะท่วมใหญ่เหมือนปี 2554 ประเมินว่าสถานการณ์จะมีฝนตกหนัก แต่ยังไม่มีความเสี่ยงเทียบเท่าปี 2554 เพราะระบบการบริหารจัดการน้ำปัจจุบันมีพื้นฐานดีขึ้น
สามารถรับชมไลฟ์ย้อนหลังรายการ The Sustain ได้ที่ >