เนื่องในวันตระหนักรู้ออทิสติกโลก วันที่ 2 เมษายน ของทุกปี กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จับมือมูลนิธิออทิสติกไทย สมาคมผู้ปกครองบุคคลลออทิซึม(ไทย) เครือเจริญโภคภัณฑ์ และบมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น จัดงานกิจกรรมรณรงค์ตระหนักรู้ออทิสติกโลก ประจำปี 2566 ตามนโยบายขององค์การสหประชาชาติ ภายใต้แนวคิด “Toward a Neuro-Inclusive World for All” “ก้าวสู่โลกที่ยอมรับความหลากหลายและความแตกต่างของทุกคน” โดยมุ่งสร้างความตระหนักให้ครอบครัว ชุมชนสถานที่ทำงาน เข้าใจใน บุคลิก และทักษะสังคมของบุคคลออทิสติก ก้าวข้ามอุปสรรคทางความคิด ด้วยการยอมรับ และสนับสนุนให้บุคคลลออทิสติกทุกคนได้เข้าถึงสิทธิ และพิทักษ์สิทธิของตน ส่งเสริมศักยภาพผ่านการเรียนรู้ และการทำงาน เพื่อสร้างความมั่นใจให้บุคคลออทิสติก ในฐานะหนึ่งในสมาชิกของครอบครัวทีมีทักษะความสามารถในการสร้างรายได้ และเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ให้กับสังคมและประเทศชาติ
ในโอกาสนี้ นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ขวา) ได้มอบโล่ประกาศเกียรติคุณให้แก่ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น ในฐานะหนึ่งในองค์กรที่สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตบุคคลออทิสติกมาอย่างต่อเนื่อง โดยมี นายประพาฬพงษ์ มากนวล รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจกรรมองค์กร (ซ้าย) เป็นผู้แทนรับมอบ โดยภายในงานมีกิจกรรมต่างๆ มากมายจากบุคคลออทิสติก อาทิ การแสดงศักยภาพจากบุคคลออทิสติก นิทรรศการผลงานจากชมรมผู้ปกครองทั่วประเทศ และการเสวนาแลกเปลี่ยน “สถานการณ์และทิศทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตบุคคลออทิสติก” ณ มูลนิธิออทิสติกไทย กรุงเทพมหานคร
นายชูศักดิ์ จันทยานนท์ ประธานมูลนิธิออทิสติกไทย กล่าวว่า งานวันรณรงค์วันตระหนักรู้ออทิสติกโลก ประจำปี 2566 ซึ่งผ่านอุปกรณ์ และสื่อการเรียนรู้ ต่างๆ รวมถึงการส่งเสริมให้เกิดการเรียนร่วมในระบบการศึกษาอย่างเท่าเทียม เพื่อให้แน่ใจว่าบุคคลออทิสติกทั่วประเทศจะได้รับโอกาสแสดงศักยภาพอันโดดเด่นมากยิ่งขึ้นนับเป็นปีที่ 16 ที่องค์การสหประชาชาติและประชาคมออทิสติกทั่วโลก ได้ร่วมกันจัดขึ้น โดยมูลนิธิฯ และสมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิซึม(ไทย) เป็นองค์กรหลักในการดำเนินการขับเคลื่อนการรณรงค์ ในประเทศไทย ซึ่งปีนี้ได้ขยายกรอบแนวคิดของ สหประชาชาติ สู่การดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมผ่านแนวคิด “ก้าวผ่านสู่การทำงานในโลกกระแสใหม่ ” ที่มุ่งเน้นให้สังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการนำเทคโนโลยี มาช่วยในการยกระดับการพัฒนาเด็กออทิสติกให้มีศักยภาพอย่างก้าวกระโดด สร้างโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา ปัจจุบัน สมาคมฯ ได้ขับเคลื่อนแนวคิดดังกล่าวสู่ภาคปฏิบัติด้วยการร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ผ่านโครงการต่างๆ อาทิ ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ริเริ่มและขยายผล การจัดตั้ง โครงการ”ศูนย์การเรียนนอกระบบสำหรับบุคคลออทิสติก 30 แห่ง ใน 25 จังหวัด เพื่อทดลองรูปแบบการจัดการศึกษาทางเลือก นอกจากนี้ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการร่วมกับเครือข่ายผู้ปกครองบุคคลออทิสติกได้ จัดตั้ง ศูนย์ส่งเสริมทักษะชีวิตบุคคลออทิสติก ใน 45 จังหวัด อีกทั้งมูลนิธิออทิสติกไทย ร่วมกับกลุ่มทรูและภาครัฐ ภาคเอกชนหลายหน่วยงาน จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมเพื่อการทำงานสำหรับบุคคลออทิสติก เพื่อเป็นศูนย์บริการคนพิการ และช่วยเตรียมความพร้อมเข้าสู่การประกอบอาชีพและการจ้างงานให้ได้ปีละ 1,800 คน
นายประพาฬพงษ์ มากนวล รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจกรรมองค์กร บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “เป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว ที่ทางเครือเจริญโภคภัณฑ์ และบมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น ร่วมสนับสนุนการดำเนินงานของมูลนิธิออทิสติกไทยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตบุคคลออทิสติก โดยนำศักยภาพด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมมาร่วมสร้างคุณค่าที่แท้จริง ภายใต้แนวคิด “Creating a Better Life for Vulnerable Groups” ซึ่งรวมถึงความร่วมมือจัดตั้ง CP-TRUE-Autistic Thai Foundation Vocational Training Center ศูนย์ฝึกอบรมเพื่อการทำงานบุคคลออทิสติกแห่งแรกในประเทศเพื่อฝึกอาชีพ รวมถึงเป็นศูนย์ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและวิทยาการต่างๆ ในการพัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติกในระดับประเทศและภูมิภาคอาเซียน สร้างสรรค์นวัตกรรมชุดแอปพลิเคชัน Autistic ตลอดจนนำศักยภาพด้านเทคโนโลยีสื่อสาร มาพัฒนานวัตกรรม ได้สร้างสรรค์แพลตฟอร์มออนไลน์ Screening Tools for Person With Special Needs (STS) เพื่อเป็นเครื่องมือให้ผู้ปกครองสังเกตพฤติกรรมบุตรหลานว่ามีความเสี่ยงว่าจะเป็นภาวะออทิสซึมหรือไม่ ผลของการคัดกรองจะช่วยประกอบการตัดสินใจนำเด็กเข้าสู่กระบวนการรักษาได้อย่างทันท่วงที นอกจากนี้ STS ยังสามารถเก็บรวบรวมฐานข้อมูลเชิงลึก ซึ่งมีส่วนสำคัญในการยกระดับศักยภาพของแต่ละบุคคล โดยเฉพาะในด้านการทำงาน มีทักษะอาชีพที่หลากหลาย ที่จะตรงกับโลกกระแสใหม่ และการส่งเสริมศักยภาพพัฒนาทักษะอาชีพต่างๆ เปิดโอกาสให้น้องๆ จากมูลนิธิออทิสติกไทยได้ฝึกอบรมการชงกาแฟ และก้าวเป็น “บาริสต้า” มืออาชีพ พร้อมได้รับการจ้างงานเป็นพนักงานในร้านธุรกิจ True Coffee ต่อเนื่องทุกปีถึงปัจจุบัน และเพื่อให้กลุ่มคนออทิสติก สามารถวางแผนการเงินที่เป็นระบบ ได้มีการจัดตั้งธนาคารชุมชนออทิสติก เพื่อให้กลุ่มคนออทิสติก สามารถวางแผนการเงินที่เป็นระบบ เรียนรู้การลงทุนเพื่อสร้างกำไรระยะยาว ปัจจุบันได้ดำเนินการมาแล้ว 6 แห่ง มีเงินฝากรวมกันกว่า 4 ล้านบาท
นอกจากนี้ ในปี 2566 ทรูได้สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล โดยร่วมกับมูลนิธิฯ จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ดิจิทัลเพื่อบุคคลออทิสติกและครอบครัว นำร่อง 20 จังหวัดทั่วประเทศ เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลออทิสติกและครอบครัวในพื้นที่ห่างไกลสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีการเรียนรู้ ในการฝึกทักษะต่างๆ รวมถึงการสร้างอาชีพ และรายได้อีกด้วยเพราะทรูเชื่อว่า ศูนย์ดังกล่าวจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ของการพัฒนาคุณภาพชีวิตบุคคลออทิสติกในประเทศไทย ให้ก้าวเข้าสู่สังคมแห่งการยอมรับ ความหลากหลายและความแตกต่างของทุกคน ซึ่งจะช่วยให้บุคคลออทิสติกที่ตกหล่นในชุมชน และพื้นที่ห่างไกล ได้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษา ที่มีคุณภาพ รวมถึงอุปกรณ์และสื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัย ตลอดจนยกระดับความสามารถที่ไร้ขีดจำกัดของบุคคลออทิสติกให้โดดเด่นยิ่งขึ้น เป็นแรงงานที่มีทักษะความรู้ ความสามารถ และมีส่วนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทั้งในระดับชุมชน สังคม และประเทศชาติ อย่างยั่งยืนสืบไป
คนไทยทุกคนสามารถมีส่วนร่วมสนับสนุนให้เกิดการยอมรับ และเสริมสร้างศักยภาพบุคคลออทิสติกร่วมกันผ่านการบริจาคสมทบทุนจัดซื้ออุปกรณ์ให้กับศูนย์เรียนรู้ดิจิทัลเพื่อบุคคลออทิสติกและครอบครัว ได้ที่แอปพลิเคชัน ทรูมันนี่ วอลเล็ท
ที่มา ทรู